วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

Contest โครงการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อประโยชน์ทางโรงไฟฟ้า การประปาและการเกษตร

บทคัดย่อ
จากการค้นคว้าพบว่าพื้นที่ที่ทำการศึกษาคือ เกาะลันตา ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงได้มีการศึกษาสภาพทางธรณีวิทยาเพื่อนำไปวิเคราะห์ลักษณะทางธรณีวิทยาของดินในพื้นที่ที่ทำการศึกษา เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้นำไปใช้ในการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนเพื่อบรรเทาปัญหาของประชาชน โดยการนำข้อมูลทางธรณีวิทยา ข้อมูลหลุมเจาะ ข้อมูลน้ำบาดาล และข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ เป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ และมีการตรวจสอบกลับโดยการนำแผนที่ทางธรณีวิทยามาเทียบกับข้อมูลหลุมเจาะ เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าข้อมุลที่ได้เชื่อถือได้หรือไม่

บทที่ 1 บทนำ
นายวิจิตร เกิดบางกา ผู้จัดการสำนักงานประปากระบี่ ได้ให้ข่าวแก่แหล่งข่าวเมื่อ15 มีนาคม 2553 ( http://210.246.86.10/ ) ว่า ขณะนี้แหล่งน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปาของจังหวัดกระบี่ คือ บริเวณคลองกระบี่ใหญ่ มีปริมาณลดลง เนื่องจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน และคาดว่า หากฝนไม่ตกจะทำให้น้ำจากแหล่งต่าง ๆ มีปริมาณลดลง ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากประชาชนที่ใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดกระบี่ ได้ใช้น้ำอย่างประหยัด และกัดเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ในระยะนี้ด้วย คณะวิจัยเห็นว่า เรื่องการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญ จึงได้ศึกษาสภาพภูมิประเทศ ข้อมูลหลุมเจาะ ข้อมูลน้ำบาดาล และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นำมาศึกษาเพื่อที่จะทราบข้อมูลเบื้องต้น

บทที่ 2 วิธีการศึกษา
จากการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งอินเตอร์เน็ตดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ตารางแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์
นำข้อมูลหลุมเจาะที่ได้จากตารางที่ 2 มาเปรียบเทียบกับแผนที่ทางธรณีวิทยารุปที่ 3 จะเห็นว่าข้อมูลของดินในพื้นที่เป็นดินชนิดเดียวกัน ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อที่จะได้ทราบว่าข้อมูลที่นำมาใช้นั่นมีความน่าเชื่อถือหรือไม่



บทที่ 3 ผลการศึกษา

ตารางที่ 2 ตัวอย่างข้อมูลหลุมเจาะ
ที่มา : http://www.dpt.go.th/soil/


รูปที่ 1 : พื้นที่อำเภอเกาะลันตา แสดงเฉพาะภูเขา (Google Map)
ที่มา : Google Map

รูปที่ 2 : พื้นที่เกาะลันตาจากภาพถ่ายดาวเทียม (Google Map)
ที่มา : Google Map

รูปที่ 3 : แผนที่ทางธรณีวิทยาของเกาะลันตา
ที่มา : http://www.dmr.go.th/download/pdf/South/Krabi.pdf

รูปที่ 4 : แผนที่น้ำบาดาลเกาะลันตาแสดงถึงแหล่งน้ำผิวดิน (สีฟ้าเข้ม) ปริมาณฝน (สีฟ้า)
ที่มา : http://map.dgr.go.th/

บทที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
เนื่องจากอำเภอเกาะลันตา เป็นเกาะที่ประกอบด้วยเกาะแยก 2 เกาะ คือ เกาะลันตาน้อย เกาะลันตาใหญ่ เป็นเกาะที่อยู่ในจังหวัดกระบี่ ซึ่งรอบเกาะนี้ประกอบด้วยชายหาดและทะเลอันดามัน ในช่วงฤดูฝนหรือได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เกาะลันตานี้จะมีน้ำประปาใช้ตลอดฤดูกาล เนื่องจากเกาะนี้มีภูเขา ทำให้ลมมรสุมมาชนภูเขาและเกิดเป็นฝน ในช่วงฤดูฝนชาวบ้านที่เกาะลันตาจะมีน้ำประปาใช้อย่างไม่ขาดแคลน แต่เมื่อเกาะนี้ได้รับอิทธิพลของฤดูร้อนหรือลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้แหล่งน้ำผิวดินต่างๆที่มีอยู่ในเกาะลันตานี้ เหือดแห้ง และลดระดับลงมาก ทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในเกาะลันตาเกิดการขาดแคลนน้ำ
แต่เนื่องจากเกาะลันตามีสันเขามากมาย ทำให้เราสามารถวางแผนตั้งเขื่อนเพื่อรองรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีฝนจำนวนมาก โดยเขื่อนนี้สามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ได้ภายในเกาะ และยังสามารถนำไปบำบัดและสำรองน้ำใช้ในช่วงที่ขาดแคลนได้ และด้วยจังหวัดกระบี่มีประชากรส่วนมากประกอบอาชีพการเกษตร การสร้างเขื่อนแห่งนี้อาจทำให้ประชาชนผู้ประกอบอาชีพการเกษตรมีน้ำสำรองใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตรเพิ่มขึ้นอีกด้วย

บทที่ 5 สรุปผลการศึกษาโครงการ
การก่อสร้างโครงสร้างเขื่อน จังหวัดกระบี่พื้นดินระดับล่างในการวางรากฐานและเสาเข็ม แต่หลุมเจาะที่นำมาเป็นข้อมูลนี้เป็นหลุมเจาะข้างเขียงของเกาะลันตา เป็นการสำรวจเบื้องต้น ชนิดของดินเป็นดินทราย ดินทรายนั้นสามารถรับน้ำหนักได้ดี เหมาะสำหรับการวางรากฐานและเสาเข็มของเขื่อนเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจาก Google map ยังจะเห็นได้ว่าพื้นที่ที่เป็นภูเขาเราสามารถหาแนวสันปันน้ำเพื่อทำสันเขื่อนได้ง่าย เพราะพื้นที่เกาะลันตามีภูเขามาก แต่จากการดูแผนที่ทางธรณีวิทยาของเกาะลันตาจะเห็นว่าเป็น CPK (หินโคลนปนกรวด หินดินดาน) ซึ่งมีความแข็งแรงพอประมาณ แต่ถ้าจะทำการสร้างเขื่อนจริงต้องทำการขุดหลุมเจาะใหม่ เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างดิน ณ จุดนั้นเพิ่มเติม

บทที่ 6 เอกสารอ้างอิง
http://www.dmr.go.th/download/pdf/South/Krabi.pdf
http://www.google.co.th/ (Google map)
http://www.dgr.go.th/
http://map.dgr.go.th/
http://www.dpt.go.th/soil/
http://210.246.86.10/anda/krabi/rela/Question.ASP?ID=4675&CAT=soc

รายชื่อกลุ่ม 2 sec 2
นายสมิทธิ์ อักขิโสภา 51011364
นายศิริศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ 51011310
นายวุฒิชัย บุญปั๋น 51011257
นายศุภวัฒน์ ใจตุ้ย 51011343
นายส่งศักดิ์ ทองแตง 51011350
นายภวินท์ วัฒนเพ็ญไพบูลย์ 51010963
นายสรวิศ กาญจนชุมพล 51011371
นายสุทธิเกียรติ รัตนไพศาลศรี 51011434
นายสุวิช เพชรชมภูพันธ์ 51011486

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงการเกาะลันตา (กลุ่ม 2 sec 2)

โครงการ เกาะลันตา (กลุ่ม 2 sec 2)

ไฟล์ power point ผม upload ไว้ที่นี่ลิ้งนี้ครับ

http://www.tempf.com/getfile.php?id=703754&key=4c867bd4af301

รายชื่อกลุ่ม 2 sec 2
นายสมิทธิ์ อักขิโสภา 51011364
นายศิริศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ 51011310
นายวุฒิชัย บุญปั๋น 51011257
นายศุภวัฒน์ ใจตุ้ย 51011343
นายส่งศักดิ์ ทองแตง 51011350
นายภวินท์ วัฒนเพ็ญไพบูลย์ 51010963
นายสรวิศ กาญจนชุมพล 51011371
นายสุทธิเกียรติ รัตนไพศาลศรี 51011434
นายสุวิช เพชรชมภูพันธ์ 51011486

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การจำแนกดิน ในระบบ ASTM (กลุ่ม2/5)

การจำแนกดินทางวิศวกรรม Soil Classification อ้างอิง : (ASTM D 2487-69)


ดินเป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยสิ่งต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น กรวด, ทราย, ดินเหนียว, อินทรียสาร เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของ หินต้นกำเนิด, การกัดกร่อนผุพัง, การพัดพา และการตกตะกอนทับถม เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ของดินที่มีคุณสมบัติเฉพาะคล้ายกันเข้าอยู่ในพวกเดียวกัน ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การจำแนกประเภทของดินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง



 Unified Soil Classification System ASTM D-2487 ซึ่งนิยมใช้กับงานฐานรากทั่วไป และ underground pipeline การจําแนกดินตามมาตรฐานนี้ จะทําการจําแนก ดินเสียก่อนว่าเป็นดินชนิดเม็ดหยาบ หรือดินชนิดเม็ดโดยอาศัยข้อมูลจากทดสอบ Sieve Analysis โดยดูว่ามีดินค้างอยู่ บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 อยู่เท่าไร






- ถ้ามีดินค้างอยู่บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 เกิน 50 % by weight ถือว่าเป็นดินจําพวกเม็ดหยาบ Coarse Grained Soils ดินจําพวกนี้ได้แก่ Gravelly Soils , Sandy Soils
- ถ้ามีดินค้างอยู่บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 200 น้อยกว่า 50 % by weight ถือว่าเป็นดินจําพวกเม็ดละเอียด Fine Grained Soils ดินจําพวกนี้ได้แก่ ตะกอนทราย (Silt ) หรือดินเหนียว(Clay )






เราสามารถทราบ ชนิดของดินโดยดูจาก อักษรตัวหน้าของดิน เช่น
 กรวด ( Gravel ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “G” มีดินค้างอยู่ บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 เกิน 50 %
 ทราย ( Sand ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “S” มีดินค้างอยู่ บนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 4 น้อยกว่า 50 %
 ตะกอนทราย (Silt) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “M”
 ดินเหนียว ( Clay ) อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “C”
 ดินมีสารอินทรีย์ปน(Organic) “O”
 Peat อักษรตัวหน้าก็จะเป็น “Pt”






ส่วนอักษรที่สอง จะบอกลักษณะของดิน ซึ่งหาได้จากการกระจายของเม็ดดินและการทดสอบหาค่าความข้นเหลวของเม็ดดิน( Atterberg’s Limit ) เช่น
 ดินเม็ดหยาบมีขนาดเม็ดคละกันดี ( Well graded) ตัวอักษรที่สองเป็น “W”
 ดินเม็ดหยาบมีขนาดเม็ดคละกันไม่ดี ( Poorly graded ) ตัวอักษรที่สองเป็น “P”
 ดินเม็ดละเอียดที่มีพลาสติกซิตี้สูง ( High Plastic ) ตัวอักษรที่สองเป็น “H”
 ดินเม็ดละเอียดที่มีพลาสติกซิตี้ต่ํา ( Low Plastic ) ตัวอักษรที่ สองเป็น “L”








Unified Soil Classification (USC) System (from ASTM D 2487)



Prefix: G = Gravel, S = Sand, M = Silt, C = Clay, O = Organic Suffix: W = Well Graded, P = Poorly Graded, M = Silty, L = Clay, LL < h =" Clay,"> 50%


สมาชิกกลุ่ม
นายศุภวัฒน์ ใจตุ้ย 51011343
นายส่งศักดิ์ ทองแตง 51011350
นายภวินท์ วัฒนเพ็ญไพบูลย์ 51011963

การจำแนกดินทางวิศวกรรม Soil Classification

การจำแนกดินทางวิศวกรรม Soil Classification
อ้างอิง : (ASTM D 2487-69)

ดินเป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยสิ่งต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น กรวด, ทราย, ดินเหนียว, อินทรียสาร เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของ หินต้นกำเนิด, การกัดกร่อนผุพัง, การพัดพา และการตกตะกอนทับถม เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ของดินที่มีคุณสมบัติเฉพาะคล้ายกันเข้าอยู่ในพวกเดียวกัน ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การจำแนกประเภทของดินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง



เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องกับดินอยู่หลายสาขาด้วยกัน การจำแนกประเภทดินจึงแตกต่างกันออกไปแล้วแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานในแต่ละสาขา เช่น ทางด้านเกษตรศาสตร์ จะจำแนกดินตามความอุดมสมบูรณ์ของธาตุสารที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ ทางด้านธรณีวิทยาอาศัยลักษณะหินต้นกำเนิด และการกัดกร่อนผุพัง เป็นปัจจัยในการจำแนก สำหรับทางวิศวกรรมโยธา พิจารณาคุณสมบัติทางฟิสิกส์และกลศาสตร์ของดินเป็นหลัก เช่น ขนาดของเม็ดดิน, แรงยึดเกาะของมวลดิน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยทางวิศวกรรมแต่ละหมวดหมู่ของดินที่จัดเข้าไว้ จะมีอักษรย่อเฉพาะซึ่งจะเป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายในหมู่วิศวกร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ในวงการวิศวกรรมโยธา การจำแนกดินมีหลายระบบ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประโยชน์ ใช้สอย เช่น งานด้านถนนใช้ระบบ AASHO Classification ซึ่งจัดแบ่งดินตามความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน‚ งานสนามบินใช้ระบบของ FAA Classification และระบบ Unified Soil Classification ซึ่งใช้กับงานวิศวกรรมทั่ว ๆ ไป และนิยมแพร่หลายกว่าระบบอื่น ๆ

การจำแนกดินเพียง 2 ระบบ คือ

1. ระบบ Unified Soil Classification
2. ระบบ AASHO Classification

ทั้ง 2 ระบบ อาศัยข้อมูลพื้นฐานในการจำแนกคล้าย ๆ กัน คือ การกระจายและขนาดของเม็ดดิน
,ค่า Atterberg’s limits (L.L.‚ P.L.‚ P.I)‚ สีกลิ่น และการจับตัวของเม็ดดิน รวมทั้งอินทรียสารที่เจือปน

1. การจำแนกโดยระบบ Unified Soil Classification
ใช้อักษรย่อ 2 ตัว ทำให้จดจำง่าย และมีความหมายในตัวเอง เช่น G = Gravel (กรวด)‚S = Sand (ทราย)
‚ M = Silt (ดินทราย)‚ C = Clay (ดินเหนียว)‚ W = Well Graded (เม็ดคละ)‚ P = Poorly Grade (เม็ดไม่คละ)
‚ H = High Liquid Limit (L.L. มีค่าสูง)‚ L = Low Liquid Limit (L.L. มีค่าต่ำ)
หรือ O = Organic (ดินมีอินทรียสารปนมาก) ดังแสดงในรูป
ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะขนาดเม็ดดิน เป็นพวกเม็ดหยาบได้แก่ กรวด (Gravel) และทราย(Sand) และพวกเม็ดละเอียด
ได้แก่ ดินเหนียว (Clay) และดินทราย (Silt)
2. แบ่งย่อยตามลักษณะการกระจายของเม็ดดิน สำหรับพวกเม็ดหยาบเป็นพวกที่เม็ดคละหลายขนาด
(Well Graded) และเม็ดไม่คละ เนื่องจากมีเม็ดขนาดเดียวกันมากหรือขนาดเม็ดขาดช่วง (Poorly Grade)
3. แบ่งย่อยตามค่า Atterberg’s limits สำหรับพวกเม็ดละเอียด เรียกว่า Plasticity เช่น พวกมีค่า L.L. และ
P.I สูง เรียกว่า High Liquid Limit เป็นต้น




Soil-Classification
- -SOIL A
1. พิจารณาว่าเป็นดินเม็ดหยาบ เพราะขนาดที่เล็กกว่าตะแกรงเบอร์ 200 มีเพียง 1.5% เท่านั้น
2. เป็นดินทราย (Sand) เพราะขนาดที่เล็กกว่าตะแกรงเบอร์ 4 มีถึง 61.0%
3. เป็นดินทรายที่มีส่วนของเม็ดเล็ก (Fine)น้อย (น้อยกว่า 5% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200) จึงเป็นจำพวก SW หรือ SP
4. พิจารณาการกระจายของเม็ดดินจากรูป







2. ระบบ AASHO Classification
SOIL A


โดยการนำข้อมูล นำไปพิจารณาเปรียบเทียบ ซึ่งมีมาตรฐานการจำแนกดินในระบบนี้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้


1. เป็นจำพวก Granular Material เพราะส่วนที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มีเพียง 1.5% น้อยกว่า 35 %


2. จากการกระจายของเม็ดทำให้ทราบว่าตัวอย่างดินอาจจะอยู่ในจำพวก A-1 หรือ A-2 เนื่องจากข้อมูลส่วนที่ผ่านตะแกรง

เบอร์ 10‚ 40‚ และ 200 สอดคล้องกัน


3. พิจารณาข้อมูลจาก Atterberg’s limit; L.L. = 33.2‚ P.I = 6.8 ตรงกับคุณสมบัติของจำพวกA-2-4 คือ

L.L. ไม่เกิน 40‚ และ P.I ไม่เกิน 10


4. หาค่า Group Index จากรูปที่ 2 หรือสมการข้างล่าง
G.I. = 0.2a + 0.005 a.c + 0.01 b.d

เมื่อ : a = % ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ส่วนที่เกิน 35% แต่ต่ำกว่า 75% ใช้เลขจำนวนเต็ม
เมื่อ : b = % ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ส่วนที่เกิน 15% แต่ต่ำกว่า 55% ใช้เลขจำนวนเต็ม
เมื่อ : c = ค่า L.L. ส่วนที่เกิน 40% แต่ต่ำกว่า 60% ใช้เลขจำนวนเต็ม
เมื่อ : d = ค่า P.I ส่วนที่เกิน 10% แต่ต่ำกว่า 30% ใช้เลขจำนวนเต็ม


5. สัญลักษณ์จากการจำแนก SOIL A คือ A-2-4 (0) โดยที่ตัวเลขในวงเล็บคือค่า Group Indexสำหรับ SOIL B และ C ได้รวมการจำแนกและเหตุผล ขั้นตอนการจำแนกตัวอย่างดิน SOIL B และ C โดยระบบ AASHO Classification


กลุ่ม 2/6
นายสรวิศ กาญจนชุมพล 51011371
นายสุทธิเกียรติ รัตนไพศาลศรี 51011343
นายสุวิช เพชรชมภูพันธ์ 51011486

ที่มา : http://www.gerd.eng.ku.ac.th/ ขอขอบคุณครับ

การจำแนกดิน ในระบบ ASTM (กลุ่ม2/4)








ASTM D 2487 – 69
ดินเป็นวัสดุที่ประกอบขึ้นด้วยสิ่งต่างๆ หลายอย่าง เช่น กรวด, ทราย, ดินเหนียว, อินทรียสาร เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากอิทธิพลของหินต้นกำเนิด, การกัดกร่อนผุพัง, การพัดพาและการตกตะกอนทับถม เพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ของดินที่มีคุณสมบัติเฉพาะคล้ายกัน เข้าอยู่ในพวกเดียวกันตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การจำแนกประเภทของดินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง


เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องกับดินอยู่หลายสาขาด้วยกัน การจำแนกประเภทดินจึงแตกต่างกันออกไป แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานในแต่ละสาขา เช่น ทางด้านเกษตรศาสตร์จะจำแนกดินตามความอุดมสมบูรณ์ของธาตุสารที่พืชจะนำไปใช้ประโยชน์ ทางด้านธรณีวิทยา อาศัยลักษณะหินต้นกำเนิดและการกัดกร่อนผุพัง เป็นปัจจัยในการจำแนก สำหรับทางวิศวกรรมโยธาพิจารณาคุณสมบัติทางฟิสิกส์และกลศาสตร์ของดินเป็นหลัก เช่น ขนาดของเม็ดดิน, แรงยึดเกาะของมวลดิน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยทางวิศวกรรมแต่ละหมวดหมู่ของดินที่จัดเข้าไว้ จะมีอักษรย่อเฉพาะซึ่งจะเป็นที่เข้าใจได้โดยงายในหมู่วิศวกร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง



ในทบนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดการจำแนกดินเพียง 2 ระบบ คือ
1. ระบบ Unified Soil Classification
2. ระบบ AASHO Classification
ทั้งสองระบบ อาศัยข้อมูลพื้นฐานในการจำแนกคล้ายๆกัน คือ การกระจายและขนาดของเม็ดดิน, ค่า Atterberg’s limits (L.L., P.L., P.I) สีกลิ่น และการจับตัวของเม็ดดิน รวมทั้งอินทรีย์สารที่เจือปน ซึ่งรายละเอียดการทดสอบหาข้อมูลเหล่านี้ได้กล่าวไว้ในบทของ Atterberg’s Limits และ บทของการหาขนาดเม็ดดิน แล้ว
ในวงการวิศวกรรมโยธา การจำแนกดินมีหลายระบบ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประโยชน์ใช้สอย เช่น งานด้านถนนใช้ระบบ AASHO Classification ซึ่งจัดแบ่งดินตามความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน, งานสนามบินใช้ระบบของ FAA Classification และระบบ Unified Soil Classification ซึ่งใช้กับงานวิศวกรรมทั่วๆ ไปและนิยมแพร่หลายกว่าระบบอื่นๆ

ดังรูป



ตารางจำแนกดินโดยระบบ Unified Soil Classificat



การจำแนกโดยระบบ Unified Soil Classification
ใช้อักษรย่อ 2 ตัว ทำให้จดจำง่าย และมีความหมายในตัวเอง เช่น G = Gravel (กรวด), S = Sand (ทราย), M = Silt (ดินทราย), C = Clay (ดินเหนียว), W = Well Graded (เม็ดคละ), P = Poorly Grade (เม็ดไม่คละ), H = High Liquid Limit (L.L. มีค่าสูง), L = Low Liquid Limit (L.L. มีค่าต่ำ) หรือ O = Organic (ดินมีอินทรียสารปนมาก) ดังแสดงในรูปที่ 1 และตารางที่ 1
ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้
1. แบ่งตามลักษณะขนาดเม็ดดิน เป็นพวกเม็ดหยาบได้แก่ กรวด (Gravel) และทราย (Sand) และพวกเม็ดละเอียด ได้แก่ ดินเหนียว (Clay) และดินทราย (Silt)
2. แบ่งย่อยตามลักษณะการกระจายของเม็ด สำหรับพวกเม็ดหยาบเป็นพวกที่เม็ดคละหลายขนาด (Well Graded) และเม็ดไม่คละ เนื่องจากมีเม็ดขนาดเดียวกันมากหรือขนาดเม็ดขาดช่วง (Poorly Grade)
3. แบ่งย่อยตามค่า Atterberg’s Limits สำหรับพวกเม็ดละเอียด เรียกว่า Plasticity เช่น พวกมีค่า L.L. และ P.I. สูงเรียกว่า High Liquid Limit เป็นต้น
เมื่อถึงขั้นสุดท้าย จะมีอักษรย่อแทน 2 ตัว (ในกรณีก้ำกึ่งใช้ 4 ตัว) เช่น CH, GW, SP หรือ GM-GC, ML-CL
การจำแนกโดยระบบ AASHO Classification
ใช้อักษรย่อจาก A – 1 ถึง A – 7 โดยที่เรียงลำดับจากความเหมาะสมในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทาง คือ A – 1 ถึง A – 3 เหมาะสมมาก ส่วน A – 4 ถึง A – 7 พอใช้ถึงใช้ไม่ได้นอกจากนั้นยังมีการแบ่งย่อยลงไปอีกสำหรับ กรุ๊ป A – 1, A – 2, A – 7 เช่น A – 1 - a, A – 1 - b, A – 2 – 4, A – 2 - 7, A – 7 – 5 เป็นต้น ดังแสดงในตารางที่ 2
ขั้นตอนในการจำแนกอาจทำได้ดังนี้
1. แบ่งตามการกระจายของเม็ดดิน
2. แบ่งตามค่า Atterberg’s Limits
3. แบ่งตามค่า Group Index (G.I.)
เมื่อถึงขั้นตอนสุดท้ายจะมีอักษรต่อ 2 หรือ 3 และมีวงเล็บต่อท้ายด้วยค่า Group Index เช่น A – 1 – a (0), A – 3 (0), A – 7 – b (12)
วิธีการจำแนก
เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเข้าใจในการจำแนกดินตามขั้นตอนต่าง ๆ จึงขอยกตัวอย่างข้อมูลจากการหาขนาดเม็ดดินและ Atterberg’s limits สัก 3 ตัวอย่าง คือ SOIL A, B, C ในตารางที่ 3





1. ระบบ Unified Soil Classification
SOIL A
เมื่อพิจารณาข้อมูลจากตารางที่ 3 และรูปที่ 1 และตารางที่ 1 จะจำแนกดิน SOIL A ตามขั้นตอนดังนี้
1. พิจารณาว่าเป็นดินเม็ดหยาบ เพราะขนาดที่เล็กกว่าตะแกรงเบอร์ 200 มีเพียง 1.5% เท่านั้น
2. เป็นดินทราย (Sand) เพราะขนาดที่เล็กกว่า ตะแกรงเบอร์ 4 มีถึง 61.0%
3. เป็นดินทรายที่มีส่วนของเม็ดเล็ก (Fine)น้อย (น้อยกว่า 5% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200) จึงเป็นจำพวก SW หรือ SP
4. พิจารณาการกระจายของเม็ดดินจากรูปที่ 3


ดังนั้น ดินตัวอย่าง SOIL A เป็น SW (Well graded sand, with little fine)สำหรับ SOIL B และ SOIL C ได้รวมการจำแนกและเหตุผลในตารางที่ 4



2. ระบบ AASHO Classification
SOIL A
โดยการนำข้อมูลจากตารางที่ 3 นำไปพิจารณาเปรียบเทียบกับตารางที่ 2 ซึ่งมีมาตรฐานการจำแนกดินในระบบนี้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เป็นจำพวก Granular Material เพราะส่วนที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มีเพียง 1.5% น้อยกว่า 35%
2. จากการกระจายของเม็ดทำให้ทราบว่าตัวอย่างดินอาจจะอยู่ในจำพวก A–1 หรือ A–2 เนื่องจากข้อมูลส่วนที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 10, 40, และ 200 สอดคล้องกัน
3. พิจารณาข้อมูลจาก Atterberg’s limit; L.L. = 33.2, P.I = 6.8 ตรงกับคุณสมบัติของจำพวก A–2–4 คือ L.L ไม่เกิน 40, และ P.I ไม่เกิน 10
4. หาค่า Group Index จากรูปที่ 2 หรือสมการข้างล่าง
G.I. = 0.2a + 0.005 a.c + 0.001 b.d
-----(1)
เมื่อ :
a
=
% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ส่วนที่เกิน 35% แต่ต่ำกว่า 75% ใช้เลขจำนวนเต็ม

b
=
% ผ่านตะแกรงเบอร์ 200 ส่วนที่เกิน 15% แต่ต่ำกว่า 55% ใช้เลขจำนวนเต็ม

c
=
ค่า L.L ส่วนที่เกิน 40% แต่ต่ำกว่า 60% ใช้เลขจำนวนเต็ม

d
=
ค่า P.I ส่วนที่เกิน 10% แต่ต่ำกว่า 30% ใช้เลขจำนวนเต็ม
หมายเหตุ : ในกรณีที่ค่า a, b, c หรือ d มีค่าเกิน 40, 40, 20 และ 20 ตามลำดับ ให้ใช้ค่าสูงสุด คือ 40, 40, 20 และ 20
ในกรณี SOIL B a = 0, b = 0, c = 0, d = 0 ดังนั้นค่า G.I, (SOIL A) = 0
แต่ในกรณี SOIL B a = 51.2 - 35 = 16.2 ใช้ 16 b = 51.2 - 15 = 36.2 ใช้ 36 c = 55.0 - 40 = 15.0 ใช้ 15 d = 35.0 - 10 = 25.0 ใช้ 20 เพราะเกินกว่าค่าสูงสุด
ดังนั้น G.I. (SOIL B) = 0.2(16) + 0.005(16)(15) + 0.1(36)(20)
= 11.6 ใช้ 12
5. สัญลักษณ์จากการจำแนก SOIL A คือ A–2 –4 (0) โดยที่ตัวเลขในวงเล็บคือค่า Group Index

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ถนน 4 แยก อำเภออ่าวลึก

ถนน 4 แยก อำเภออ่าวลึก
จากการอ่านค่าจากแผนที่จังหวัดพังงา มาตราส่วน 1 : 250000 ได้
ลองติจูล 98’44.3”
ละติจูล 8’23.6”
ค่าระดับ - ม
ค้นหาใน google earth ด้วยค่า พิกัด 8.393333,98.738333
ค่าคลาดเคลื่อน Length 0.38 miles
ค่าคลาดเคลื่อน Heading 51.78 degrees
ได้ภาพนี้ออกมา ซึ่งค่าระดับที่ได้จากพิกัดคือ 29 ม. และจากจุดที่เป็น 4แยกจริงได้ค่าระดับ 40 ม
สมาชิกกลุ่มย่อย
1.นายนายภวินท์ วัฒนเพ็ญไพบูลย์ 51010963
2.นายศุภวัฒน์ ใจตุ้ย 51011343
3.นายส่งศักดิ์ ทองแตง 51011350

ยอดเขาพนมเบญจา(PHANOM BENCHA)


ยอดเขาพนมเบญจา(PHANOM BENCHA)
จากการอ่านค่าจากแผนที่จังหวัดพังงา มาตราส่วน 1 : 250000 ได้
ลองติจูล 98’56.3”
ละติจูล 8’16.8”
ค่าระดับ 1350 ม
ค้นหาใน google earth ด้วยค่า พิกัด 8.2800000,98.938333
ค่าคลาดเคลื่อน Length 0.31 miles
ค่าคลาดเคลื่อน Heading 257.87 degrees
ได้ภาพนี้ออกมา ซึ่งค่าระดับที่ได้จากพิกัดที่ใส่คือ 1183 ม.


สมาชิกกลุ่มย่อย
1.นายวุฒิชัยบุญปั๋น 51011257
2.นายศิริศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์ 51011310
3.นายสมิทธิ์ อักขิโสภา 51011364



สนามบิน จ.พังงา



จากการอ่านค่าจากแผนที่ประเทศไทย ลำดับชุด 1501S ระวาง NC 47-14 พิมพ์ครั้งที่ 2 - RTSD

จังหวัดพังงา มาตราส่วน 1 : 250000 ได้ ลองติจูล = 98’18.7” ละติจูล = 8’6.7”


ค้นหาใน google earth ด้วยค่า พิกัด 8.111667 N , 98.311667 E


ค่า elev ที่ได้จาก google earth คือ 10 m


มีค่า error ของ Length = 0.37 miles


มีค่า error ของ Heading = 80.96 degrees





สมาชิกกลุ่มย่อย

1.นายสรวิศ กาญจนชุมพล 51011371

2.นายสุทธิเกียรติ รัตนไพศาลศรี 51011434

3.นายสุวิช เพชรชมภูพันธ์ 51011486